วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ในหลวงราชการที่ 10



                              สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
พระนามเดิมของพระองค์ เดิมว่า สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง สุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
(สนช. กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามกฎมณเฑียรบาล เมื่อเวลาประมาณ 11:00 น. วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2559) และ สำนักพระราชวัง ออกหมายกำหนดการพระราชพิธีปัญญาสมวาร ร.9 (เป็นทางการแล้ว) พร้อมประกาศให้เรียกพระนามใหม่ ร.10 “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ได้ตั้งแต่ 2 ธ.ค. 2559 นี้ เป็นต้นไป 

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ตัวร้ายที่รักเธอ

                                                                   ตัวร้ายที่รักเธอ
                                                                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โน๊ตเพลง ตัวร้ายที่รักเธอ

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประวัติของวันวชิราวุธ


















                          ประวัติของวันวชิราวุธ           
           วันวชิราวุธ หมายถึง วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมนับอเนกอนันต์ไว้ในหลายสาขา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
เมื่อทรงพระชนมายุได้ ๘ พรรษา ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี" ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ ๒ รองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชลัญจกร (ลัน-จะ-กอน หมายถึง ตรา) ประจำพระองค์ เป็นรูปวชิราวุธ ประดิษฐานบนพานทองสองชั้น ตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรบริวาร ๒ ข้าง เป็นสัญลักษณ์ของพระปรมาภิไธยว่า วชิราวุธ หมายถึง ศัสตราวุธของพระอินทร์
ประวัติ วันวชิราวุธ 25 พฤศจิกายน
พระราชกรณียกิจสำคัญ
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณูปการต่อประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งด้านการคมนาคม การแพทย์และสาธารณสุข ด้านการปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์เป็นต้น
ด้วยคุณูปการดังกล่าว ทางราชการจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไว้ในสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง ที่สำคัญคือพระบรมราชานุสาวรีย์บริเวณหน้าสวนลุมพินี ซึ่งรัฐบาลและประชาชนพร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้น พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ได้มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕ และทางราชการได้กำหนดให้วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวัน วชิราวุธ และจัดให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นประจำทุกปี ในวันนี้ขอกล่าวถึงพระราชกรณียกิจ เพียง 1 เรื่องที่สำคัญต่อการศึกษาอย่างยิ่ง คือ ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดตั้งกองเสือป่าขึ้น เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ มีความมุ่งหมายเพื่อฝึกอบรมข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ให้ได้รับการฝึกหัดอย่างทหาร ซึ่งจะทำให้เป็นราษฎรที่มีคุณภาพ มีวินัย เคารพกฎหมายบ้านเมือง และเพื่อปลุกใจให้มีความรักในพระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนา และเพื่อส่งเสริมความสามัคคี เสือป่ามีหน้าที่ช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความสงบทั่วไปในบ้านเมือง เช่น ช่วยจับกุมคนร้ายขโมย ช่วยเหลือเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ล้อมวงที่ประทับเมื่อเสด็จไปในที่เกิดเหตุ ซึ่งมีคนพลุกพล่านและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในด้านต่าง ๆ
เสือป่ามี ๒ พวก คือ กองเสือป่าหลวง และกองเสือป่ารักษาดินแดน กิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของเสือป่าคือการซ้อมรบหรือประลองยุทธ์ ซึ่งมักกระทำในต่างจังหวัด เช่น นครปฐม ราชบุรี ในการซ้อมรบใหญ่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นจอมทัพด้วยพระองค์เอง พระองค์ยังได้พระราชทานที่ดินเป็นที่ชุมนุมเสือป่าและลูกเสือ ที่เรียกว่าสนามเสือป่าในปัจจุบัน และสโมสรเสือป่าซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นร้านสหกรณ์พัฒนาในขณะนี้
ถึงแม้ว่ากองเสือป่าต้องเลิกล้มไป หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต แต่พระราชดำริเกี่ยวกับการที่ให้พลเรือนมีส่วนในการรักษาดินแดนมิให้สูญหายไป เนื่องจากได้มีการจัดตั้งกรมการรักษาดินแดนขึ้นเป็นส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้ดำเนินการฝึกหัดนักเรียนเตรียมอุดมศึกษาและนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ให้มีความรู้ในวิชาทหาร มีความรู้ และความสามารถในการรบเพื่อช่วยเหลือกำลังของกองทัพได้
นอกจากกองเสือป่าแล้ว พระองค์ยังทรงริเริ่มจัดตั้งกองลูกเสือ กองลูกเสือกองแรกจัดตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็ก คือ โรงเรียนวชิราวุธในปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เพื่อฝึกเยาวชนให้มีคุณสมบัติที่ดี มีความสามัคคี ความมานะอดทนและเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นผู้ช่วยรบได้ในยามคับขัน ต่อมาได้ขยายกิจการไปทั่วประเทศ ได้พระราชทานคติพจน์ให้แก่คณะลูกเสือว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์" และยังได้ทรงแสดงคุณค่าของการเป็นลูกเสือไว้ในพระราชนิพนธ์บทละครพูดเรื่อง "หัวใจนักรบ" และ "ความดีมีไชย"
กิจการลูกเสือได้เจริญรุ่งเรืองเป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองมาจนทุกวันนี้ และได้มีวิวัฒนาการเป็นกองอาสารักษาดินแดน ลูกเสือชาวบ้านและเนตรนารี เป็นต้น